วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551

บทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ

องค์การและสิ่งแวดล้อม
องค์การตามความหมายทางเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่งคั่ง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ คำจำกัดความด้านเทคนิคนี้จะเน้นองค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วนคือ 1) ปัจจัยหลักด้านการผลิต ได้แก่ เงินทุนและแรงงาน 2) กระบวนการผลิต ซึ่งจะเปลี่ยนสิ่งนำเข้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ 3) ผลผลิต ได้แก่ สินค้าและบริการ
ผลกระทบของระบบสารสนเทศต่อองค์การ
ระบบสารสนเทศและองค์การต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยระบบสารสนเทศจะต้องนำเสนอข้อมูลข่าวสารตามกลุ่มบุคคลในองค์การที่ต้องการ ในขณะเดียวกันองค์การก็ต้องเปิดรับเอาระบบสารสนเทศเข้ามามีบทบาทที่สำคัญเพื่อรับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ระบบสารสนเทศเป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการ และสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์การ คือ
1. ลดระดับขั้นของการจัดการ ช่วยให้การตัดสินใจและการประสานงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลาย
3. ลดขั้นตอนการดำเนินงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและลดเวลาที่ต้องใช้
4. เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ ช่วยให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนปลงทางการบริหารจัดการ
5. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์การได้
องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสนับสนุนการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการเกิดขึ้นขององค์การแบบเครือข่าย ช่วยให้จัดการแพร่กระจายข่าวสารไปยังบุคคลภายในและภายนอกได้ทันที องค์การสามารถใช้สารสนเทศนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจภายในและภายนอกองค์การได้
องค์การเสมือนจริง
ลักษณะขององค์การเสมือนจริงมีดังนี้
1. มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2. ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3. มีความเป็นเลิศ
4.มีความไว้วางใจ
5. มีโอกาสทางตลาด
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
โดยทั่วไปจำแนกออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. ระดับผู้ปฏิบัติการ เป็นบุคลากรที่ดำเนินงานด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรฝ่ายต่างๆ
2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการดำเนินงานประจำวันของบุคลากรระดับปฏิบัติงานให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้บริหารระดับกลาง ผู้กำกับการบริหารงานของผู้บริหารระดับปฎิบัติการ
4. ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศสามารถจัดแบ่งประเภทได้ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ เช่น ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ระบบสารสนเทศโรงเรียน และระบบสารสนเทศโรงภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน เช่น ระบบการประเมินผล และระบบฐานข้อมูลพนักงาน เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน เช่น ระบบการประมวลผลธุรกรรม ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง ระบบสารสนเทศสำนักงาน และปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงานมีความต้องการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกันโดยทั่วไประบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์เป็น 6 ประเภท
1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม TPS เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมใช้ อย่างแพร่หลาย เพื่อประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ลักษณะการประมวลผลข้อมูลของTSP แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.) การประมวลผลแบบกลุ่ม เป็นการประมวลผลที่ข้อมุลจะถูกรวบรวมและสะสมไว้ว่างใจระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด แล้วจึงจะประมวลผมรวมกับเป็นครั้งเดียว
2.) การประมวลผลผลแบบทันที เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS เป็นระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและ สรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ได้จาก TSP เพื่อจัดการสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน สามารถ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด
2.รายงานสรุป
3.รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ
4.รายงานที่จัดทำตามความต้องการ
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ
4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง EIS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยให้สนับสนุน การวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์
5. ปัญญาประดิษฐ์ AL และระบบผู้เชี่ยวชาญ ES เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์ หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์6. ระบบสานสนเทศสำนักงาน OIS หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ OAS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร
กล่าวโดยสรุป ระบบสารสนเทศมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะสารสนเทศและระดับของผู้ใช้ ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์การผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะพิจารณาถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากสารสนเทศแต่ละระบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงาน

ไม่มีความคิดเห็น: