วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบเป็นการสร้างระบบงานใหม่หรือปรับปรุงระบบงานเดิมที่มีอยู่ให้ดีกว่าเดิมเพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานบางอย่าง สามารถสรุปความจำเป็นในการพัฒนาระบบได้ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน
2.การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
3.การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ทีมงานพัฒนาระบบ
1.คณะกรรมการ มีหน้าที่ในการกำกับดูแล กำหนดทิศทาง จัดลำดับความสำคัญของระบบงาน
2.ผู้บริหารโครงการ มีหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินโครงการ กำหนดงานและความสัมพันธ์ของงานต่างๆ
3.ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ เป็นผู้ที่ควรมีความรู้ความเข้าใจระบบงานขององค์การ และรับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับโครงการและแผนงานด้านระบบสารสนเทศ
4.นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
5.ผู้ชำนาญทางด้านเทคนิค
6.ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
1.คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
2.เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด
3.กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
4.กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
5.ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
6.เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
7.แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
8.ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต
ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นวิธีการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนโดยวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นแนวคิดที่มีการกำหนดรูปแบบในการพัฒนาระบบอย่างมีแบบแผน มีการแบ่งระยะในการพัฒนาระบบ ซึ่งแต่ละองค์การอาจแบ่งระยะและขั้นตอนในแต่ละระยะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ลักษณะและข้อกำหนดขององค์การทำให้วงจรการพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ
การพัฒนาระบบเป็นวิธีการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนโดยวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศแบ่งออกเป็น 6 ระยะได้แก่
1.การกำหนดและเลือกโครงการ
2.การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
3.การวิเคราะห์ระบบ
4.การออกแบบระบบ
5.การพัฒนาและติดตั้งระบบ
6.การบำรุงรักษาระบบ
วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน
2.การสร้างต้นแบบ เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งาน
3.การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้
4.การใช้บริการจากแหล่งภายนอก
5.การใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประยุกต์
การพัฒนาระบบงานแบบออบเจ็กต์
การพัฒนาระบบและเขียนโปรมแกรมที่ผ่านมานิยมใช้แนวคิดเชิงโครงสร้าง ซึ่งไม่รองรับการพัฒนาระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน และขาดความต่อเนื่องในขั้นตอนการพัฒนาระบบการพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็วการพัฒนาระบบสานสนเทศตามขั้นตอนวงจรระบบเป็นวิธีที่ใช้เวลาค่อนข้างนานจึงมีความพยายามคิดค้นหาวิธีพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้เวลาสั้นกว่าวิธีวงจรพัฒนาระบบ
เครื่องมือสำหรับ RAD จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ มาช่วย เครื่องมือที่สำคัญมีดังนี้
ภาษารุ่นที่ 4 ( 4GL) เป็นภาษาระดับสูง เช่น SQLโปรมแกรมเคส ( CASE Tools) เป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการพัฒนาระบบและสนับสนุนการทำงานในแต่ละขั้นตอนการพัฒนาระบบ
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ
-การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
-การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ ที่ชัดเจน
-ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ
- การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
-การบริหารโครงสร้างการพัฒนาระบบอย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 11 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ

ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การหรือที่เรียกว่า ERPซึ่งย่อมาจาก Enterprise Resource Planning เป็นระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานหลักต่างๆขององค์การ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคลเข้าด้วยกันโดยเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศโดยภาพรวมและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
กระบวนการทางธุรกิจที่สนับสนุนโดยระบบ ERP
ERPเป็นแอปพลิเคชันที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายองค์การ ระบบERPช่วยในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดในองค์การไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการฝ่ายการเงินการบัญชี กระบวนการขายและการตลาด กระบวนการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และอื่นๆ เพื่อให้กระบวนการทำงานภายในองค์การเป็นไปโดยอัตโนมัติ รวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อนและสามารถช่วยลดต้นทุนทั้งระบบได้
ประโยชน์และความท้าทายของระบบERP
1.กระบวนการบริหาร
2.เทคโนโลยีพื้นฐาน
3.กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว
ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ
1.การศึกษาและวางแนวคิด
2.การวางแผนนำระบบมาใช้
3.การพัฒนาระบบ
4.การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ
โครงสร้างของซอฟแวร์ ERP
1.ซอฟต์แวร์โมดูล(Business Application Software Module)ได้แก่โมดูลที่ทำหน้าที่ในงานหลักขององค์การ ซึ่งแต่ละโมดูลนอกจากจะทำงานเฉพาะในแต่ละโมดูลนั้นๆ
2.ฐานข้อมูลรวม(Integrated Database)ซอฟต์แวร์โมดูลทุกโมดูลสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลรวมได้โดยตรงและสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลรวมนี้ร่วมกันได้
3.ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ(System Administration Utility)เป็นส่วนที่สนับสนุนการบริหารจัดการระบบ
4.ระบบสนับสนุนการพัฒนาและการปรับเปลี่ย(Development and Customization Utility)เป็นส่วนที่สนับสนุนการพัฒนาหรือการปรับเปลี่ยนบางงานให้เข้ากับการทำงานขององค์การ
ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP
1.การพิจารณาว่าจะใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหรือไม่
2.ฟังก์ชันของ ERP สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการในการนำมาใช้งานขององค์การ
3.ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ซอฟต์แวร์
4.ต้นทุนในการเป็นเจ้าของระบบ ERP
5.การบำรุงรักษาระบบ
6.รองรับการทำงานหรือเทคโนโลยีในอนาคต
7.ความสามารถของผู้ขายซอฟต์แวร์
องค์การหลายแห่งที่มีการนำERPมาใช้ได้ให้ความสำคัญกับการขยายขีดความสามารถของระบบ ERPให้เชื่อมโยงกับองค์การภายนอกได้เช่นเชื่อมโยงระหว่างองค์การกับลูกค้า ผู้นำส่งวัตถุดิบ แล้วยังเชื่อมโยงระหว่างองค์การอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและประสานกระบวนการทางธุรกิจระหว่างองค์การ

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา กลยุทธ์การบริหารสายการบินราคาประหยัดในแบบของ นกแอร์

สายการบินนกแอร์ เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติไทย โดยมีบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กลยุทธ์ที่นกแอร์นำมาใช้มีดังนี้
กลยุทธ์ที่1:การบินระยะสั้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เป็นกลยุทธ์ที่ให้เครื่องบินสามารถบินอยู่ในอากาศมากที่สุดเพื่อให้เกิดรายได้ ถ้าบินยิ่งมากค่าเฉลี่ยต้นทุนของเครื่องบินก็จะต่ำลง
กลยุทธ์ที่2:การใช้เครื่องบินประเภทเดียว นกแอร์ใช้เครื่องบินโบอิ้ง 737-400แบบเดียวเพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการดูแลรักษาเครื่องบิน และการฝึกอบรมพนักงาน
กลยุทธ์ที่3:การจำหน่ายตั๋วเครื่องบินออนไลน์ เป็นการลดค่าใช้จ่ายพนักงานในการให้บริการและสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
กลยุทธ์ที่4:การสำรองที่นั่งได้ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการแข่งขันที่สร้างความแตกต่างจากสายการบินราคาประหยัดอื่นๆลูกค้าสามารถจองที่นั่งผ่านเว็บไซด์ได้อย่างสะดวก
กลยุทธ์ที่5:การตั้งหลายราคา โดยจะตั้งราคาต่ำกว่าหากลูกค้ามีการวางแผนการเดินทางและจองตั๋วล่วงหน้า ส่วนลูกค้าที่ตัดสินใจช็ก็จะต้องซื้อตั๋วในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนนี้นกแอร์ได้ใชระบบไอทีเรียกว่า Revenue Management System มาช่วยวิเคราะห์และวางแผนการขาย
กลยุทธ์ที่6:สายการบินราคาประหยัด เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วยการงดให้บริการอาหารและเครื่องดื่มหากลูกค้าบางท่านต้องการ นกแอร์ก็มีบริการในราคาที่เหมาะสมด้วย
กลยุทธ์ที่7:เอาต์ซอร์ส เป็นการใช้พาร์ตเนอร์มาให้บริการแทนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของพนักงานที่ต้องให้บริการ เช่น คอลล์เซ็นเตอร์
กลยุทธ์ที่8:การเพื่มรายได้จากส่วนอื่นๆ นกแอร์เลือกใช้กระดาษและเครื่องพิมพ์ Boarding Passถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่ากระดาษธรรมดาแต่ก็สามารถเพิ่มรายได้จากการขายโฆษณาด้านหลังของ Boarding Passได้
กลยุทธ์ที่9:การลดต้นทุนด้วยการใช้ไอที นกแอร์ได้นำไอทีเข้ามาช่วยการดำเนินงานทุกส่วนทั้งระบบฟรอนต์เอนด์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของคนและงานที่เป็นแบบแมนนวลลง
กลยุทธ์ที่10:การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า นกแอร์มุ่งให้บริการที่ดีเยี่ยมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้โดยสาร สร้างความประทับใจเพื่อลูกค้าจะได้กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
คำถาม
1.สายการบินนกแอร์มีการนำไอทีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไรบ้าง
- จำหน่ายตั๋วเครื่องบินออนไลน์จะได้ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- การสำรองที่นั่งได้ ลูกค้าสามารถจองที่นั่งผ่านเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก
- การลดต้นทุนด้วยการใช้ไอที เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของคนและงานที่เป็นแบบแมนนวลลง
2.จากกรอบแนวคิดของไวส์แมน สายการบินนกแอร์มีการใช้ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ในด้านใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
-กลยุทธ์ด้านความแตกต่างการสำรองที่นั่งได้เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการแข่งขันที่สร้างความแตกต่างจากสายการบินราคาประหยัดอื่น ๆ ลูกค้าสามารถจองที่นั่งผ่านเว็บไซค์ได้อย่างสะดวกกลยุทธ์ด้านราคา การตั้งหลายราคา โดยจะตั้งราคาต่ำกว่าหากลูกค้ามีการวางแผนการเดินทางและจองตั๋วล่วงหน้า ส่วนลูกค้าที่ตัดสินใจช้าจะต้องซื้อตั๋วในราคาที่สูงขึ้นกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมสิ่งใหม่ ๆ การเพิ่มรายได้จากส่วนอื่น ๆ นกแอร์เลือกใช้กระดาษและเครื่องพิมพ์ Boarding Pass ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่ากระดาษธรรมดา แต่ก็สามารถเพิ่มรายได้จากการขายโฆษณาด้านหลังของ Boarding Pass ได้กลยุทธ์ด้านพันมิตร การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า นกแอร์มุ่งให้บริการที่ดีเยี่ยมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้โดยสาร สร้างความประทับใจเพื่อลูกค้าจะได้กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง