วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบเป็นการสร้างระบบงานใหม่หรือปรับปรุงระบบงานเดิมที่มีอยู่ให้ดีกว่าเดิมเพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานบางอย่าง สามารถสรุปความจำเป็นในการพัฒนาระบบได้ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน
2.การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
3.การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ทีมงานพัฒนาระบบ
1.คณะกรรมการ มีหน้าที่ในการกำกับดูแล กำหนดทิศทาง จัดลำดับความสำคัญของระบบงาน
2.ผู้บริหารโครงการ มีหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินโครงการ กำหนดงานและความสัมพันธ์ของงานต่างๆ
3.ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ เป็นผู้ที่ควรมีความรู้ความเข้าใจระบบงานขององค์การ และรับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับโครงการและแผนงานด้านระบบสารสนเทศ
4.นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
5.ผู้ชำนาญทางด้านเทคนิค
6.ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
1.คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
2.เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด
3.กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
4.กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
5.ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
6.เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
7.แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
8.ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต
ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นวิธีการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนโดยวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นแนวคิดที่มีการกำหนดรูปแบบในการพัฒนาระบบอย่างมีแบบแผน มีการแบ่งระยะในการพัฒนาระบบ ซึ่งแต่ละองค์การอาจแบ่งระยะและขั้นตอนในแต่ละระยะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ลักษณะและข้อกำหนดขององค์การทำให้วงจรการพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ
การพัฒนาระบบเป็นวิธีการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนโดยวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศแบ่งออกเป็น 6 ระยะได้แก่
1.การกำหนดและเลือกโครงการ
2.การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
3.การวิเคราะห์ระบบ
4.การออกแบบระบบ
5.การพัฒนาและติดตั้งระบบ
6.การบำรุงรักษาระบบ
วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน
2.การสร้างต้นแบบ เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งาน
3.การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้
4.การใช้บริการจากแหล่งภายนอก
5.การใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประยุกต์
การพัฒนาระบบงานแบบออบเจ็กต์
การพัฒนาระบบและเขียนโปรมแกรมที่ผ่านมานิยมใช้แนวคิดเชิงโครงสร้าง ซึ่งไม่รองรับการพัฒนาระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน และขาดความต่อเนื่องในขั้นตอนการพัฒนาระบบการพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็วการพัฒนาระบบสานสนเทศตามขั้นตอนวงจรระบบเป็นวิธีที่ใช้เวลาค่อนข้างนานจึงมีความพยายามคิดค้นหาวิธีพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้เวลาสั้นกว่าวิธีวงจรพัฒนาระบบ
เครื่องมือสำหรับ RAD จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ มาช่วย เครื่องมือที่สำคัญมีดังนี้
ภาษารุ่นที่ 4 ( 4GL) เป็นภาษาระดับสูง เช่น SQLโปรมแกรมเคส ( CASE Tools) เป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการพัฒนาระบบและสนับสนุนการทำงานในแต่ละขั้นตอนการพัฒนาระบบ
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ
-การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
-การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ ที่ชัดเจน
-ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ
- การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
-การบริหารโครงสร้างการพัฒนาระบบอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: