วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบเป็นการสร้างระบบงานใหม่หรือปรับปรุงระบบงานเดิมที่มีอยู่ให้ดีกว่าเดิมเพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานบางอย่าง สามารถสรุปความจำเป็นในการพัฒนาระบบได้ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน
2.การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
3.การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ทีมงานพัฒนาระบบ
1.คณะกรรมการ มีหน้าที่ในการกำกับดูแล กำหนดทิศทาง จัดลำดับความสำคัญของระบบงาน
2.ผู้บริหารโครงการ มีหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินโครงการ กำหนดงานและความสัมพันธ์ของงานต่างๆ
3.ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ เป็นผู้ที่ควรมีความรู้ความเข้าใจระบบงานขององค์การ และรับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับโครงการและแผนงานด้านระบบสารสนเทศ
4.นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
5.ผู้ชำนาญทางด้านเทคนิค
6.ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
1.คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
2.เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด
3.กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
4.กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
5.ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
6.เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
7.แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
8.ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต
ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นวิธีการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนโดยวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นแนวคิดที่มีการกำหนดรูปแบบในการพัฒนาระบบอย่างมีแบบแผน มีการแบ่งระยะในการพัฒนาระบบ ซึ่งแต่ละองค์การอาจแบ่งระยะและขั้นตอนในแต่ละระยะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ลักษณะและข้อกำหนดขององค์การทำให้วงจรการพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ
การพัฒนาระบบเป็นวิธีการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนโดยวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศแบ่งออกเป็น 6 ระยะได้แก่
1.การกำหนดและเลือกโครงการ
2.การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
3.การวิเคราะห์ระบบ
4.การออกแบบระบบ
5.การพัฒนาและติดตั้งระบบ
6.การบำรุงรักษาระบบ
วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน
2.การสร้างต้นแบบ เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งาน
3.การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้
4.การใช้บริการจากแหล่งภายนอก
5.การใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประยุกต์
การพัฒนาระบบงานแบบออบเจ็กต์
การพัฒนาระบบและเขียนโปรมแกรมที่ผ่านมานิยมใช้แนวคิดเชิงโครงสร้าง ซึ่งไม่รองรับการพัฒนาระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน และขาดความต่อเนื่องในขั้นตอนการพัฒนาระบบการพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็วการพัฒนาระบบสานสนเทศตามขั้นตอนวงจรระบบเป็นวิธีที่ใช้เวลาค่อนข้างนานจึงมีความพยายามคิดค้นหาวิธีพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้เวลาสั้นกว่าวิธีวงจรพัฒนาระบบ
เครื่องมือสำหรับ RAD จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ มาช่วย เครื่องมือที่สำคัญมีดังนี้
ภาษารุ่นที่ 4 ( 4GL) เป็นภาษาระดับสูง เช่น SQLโปรมแกรมเคส ( CASE Tools) เป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการพัฒนาระบบและสนับสนุนการทำงานในแต่ละขั้นตอนการพัฒนาระบบ
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ
-การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
-การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ ที่ชัดเจน
-ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ
- การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
-การบริหารโครงสร้างการพัฒนาระบบอย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 11 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ

ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การหรือที่เรียกว่า ERPซึ่งย่อมาจาก Enterprise Resource Planning เป็นระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานหลักต่างๆขององค์การ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคลเข้าด้วยกันโดยเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศโดยภาพรวมและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
กระบวนการทางธุรกิจที่สนับสนุนโดยระบบ ERP
ERPเป็นแอปพลิเคชันที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายองค์การ ระบบERPช่วยในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดในองค์การไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการฝ่ายการเงินการบัญชี กระบวนการขายและการตลาด กระบวนการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และอื่นๆ เพื่อให้กระบวนการทำงานภายในองค์การเป็นไปโดยอัตโนมัติ รวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อนและสามารถช่วยลดต้นทุนทั้งระบบได้
ประโยชน์และความท้าทายของระบบERP
1.กระบวนการบริหาร
2.เทคโนโลยีพื้นฐาน
3.กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว
ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ
1.การศึกษาและวางแนวคิด
2.การวางแผนนำระบบมาใช้
3.การพัฒนาระบบ
4.การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ
โครงสร้างของซอฟแวร์ ERP
1.ซอฟต์แวร์โมดูล(Business Application Software Module)ได้แก่โมดูลที่ทำหน้าที่ในงานหลักขององค์การ ซึ่งแต่ละโมดูลนอกจากจะทำงานเฉพาะในแต่ละโมดูลนั้นๆ
2.ฐานข้อมูลรวม(Integrated Database)ซอฟต์แวร์โมดูลทุกโมดูลสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลรวมได้โดยตรงและสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลรวมนี้ร่วมกันได้
3.ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ(System Administration Utility)เป็นส่วนที่สนับสนุนการบริหารจัดการระบบ
4.ระบบสนับสนุนการพัฒนาและการปรับเปลี่ย(Development and Customization Utility)เป็นส่วนที่สนับสนุนการพัฒนาหรือการปรับเปลี่ยนบางงานให้เข้ากับการทำงานขององค์การ
ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP
1.การพิจารณาว่าจะใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหรือไม่
2.ฟังก์ชันของ ERP สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการในการนำมาใช้งานขององค์การ
3.ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ซอฟต์แวร์
4.ต้นทุนในการเป็นเจ้าของระบบ ERP
5.การบำรุงรักษาระบบ
6.รองรับการทำงานหรือเทคโนโลยีในอนาคต
7.ความสามารถของผู้ขายซอฟต์แวร์
องค์การหลายแห่งที่มีการนำERPมาใช้ได้ให้ความสำคัญกับการขยายขีดความสามารถของระบบ ERPให้เชื่อมโยงกับองค์การภายนอกได้เช่นเชื่อมโยงระหว่างองค์การกับลูกค้า ผู้นำส่งวัตถุดิบ แล้วยังเชื่อมโยงระหว่างองค์การอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและประสานกระบวนการทางธุรกิจระหว่างองค์การ

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา กลยุทธ์การบริหารสายการบินราคาประหยัดในแบบของ นกแอร์

สายการบินนกแอร์ เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติไทย โดยมีบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กลยุทธ์ที่นกแอร์นำมาใช้มีดังนี้
กลยุทธ์ที่1:การบินระยะสั้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เป็นกลยุทธ์ที่ให้เครื่องบินสามารถบินอยู่ในอากาศมากที่สุดเพื่อให้เกิดรายได้ ถ้าบินยิ่งมากค่าเฉลี่ยต้นทุนของเครื่องบินก็จะต่ำลง
กลยุทธ์ที่2:การใช้เครื่องบินประเภทเดียว นกแอร์ใช้เครื่องบินโบอิ้ง 737-400แบบเดียวเพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการดูแลรักษาเครื่องบิน และการฝึกอบรมพนักงาน
กลยุทธ์ที่3:การจำหน่ายตั๋วเครื่องบินออนไลน์ เป็นการลดค่าใช้จ่ายพนักงานในการให้บริการและสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
กลยุทธ์ที่4:การสำรองที่นั่งได้ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการแข่งขันที่สร้างความแตกต่างจากสายการบินราคาประหยัดอื่นๆลูกค้าสามารถจองที่นั่งผ่านเว็บไซด์ได้อย่างสะดวก
กลยุทธ์ที่5:การตั้งหลายราคา โดยจะตั้งราคาต่ำกว่าหากลูกค้ามีการวางแผนการเดินทางและจองตั๋วล่วงหน้า ส่วนลูกค้าที่ตัดสินใจช็ก็จะต้องซื้อตั๋วในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนนี้นกแอร์ได้ใชระบบไอทีเรียกว่า Revenue Management System มาช่วยวิเคราะห์และวางแผนการขาย
กลยุทธ์ที่6:สายการบินราคาประหยัด เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วยการงดให้บริการอาหารและเครื่องดื่มหากลูกค้าบางท่านต้องการ นกแอร์ก็มีบริการในราคาที่เหมาะสมด้วย
กลยุทธ์ที่7:เอาต์ซอร์ส เป็นการใช้พาร์ตเนอร์มาให้บริการแทนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของพนักงานที่ต้องให้บริการ เช่น คอลล์เซ็นเตอร์
กลยุทธ์ที่8:การเพื่มรายได้จากส่วนอื่นๆ นกแอร์เลือกใช้กระดาษและเครื่องพิมพ์ Boarding Passถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่ากระดาษธรรมดาแต่ก็สามารถเพิ่มรายได้จากการขายโฆษณาด้านหลังของ Boarding Passได้
กลยุทธ์ที่9:การลดต้นทุนด้วยการใช้ไอที นกแอร์ได้นำไอทีเข้ามาช่วยการดำเนินงานทุกส่วนทั้งระบบฟรอนต์เอนด์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของคนและงานที่เป็นแบบแมนนวลลง
กลยุทธ์ที่10:การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า นกแอร์มุ่งให้บริการที่ดีเยี่ยมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้โดยสาร สร้างความประทับใจเพื่อลูกค้าจะได้กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
คำถาม
1.สายการบินนกแอร์มีการนำไอทีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไรบ้าง
- จำหน่ายตั๋วเครื่องบินออนไลน์จะได้ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- การสำรองที่นั่งได้ ลูกค้าสามารถจองที่นั่งผ่านเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก
- การลดต้นทุนด้วยการใช้ไอที เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของคนและงานที่เป็นแบบแมนนวลลง
2.จากกรอบแนวคิดของไวส์แมน สายการบินนกแอร์มีการใช้ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ในด้านใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
-กลยุทธ์ด้านความแตกต่างการสำรองที่นั่งได้เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการแข่งขันที่สร้างความแตกต่างจากสายการบินราคาประหยัดอื่น ๆ ลูกค้าสามารถจองที่นั่งผ่านเว็บไซค์ได้อย่างสะดวกกลยุทธ์ด้านราคา การตั้งหลายราคา โดยจะตั้งราคาต่ำกว่าหากลูกค้ามีการวางแผนการเดินทางและจองตั๋วล่วงหน้า ส่วนลูกค้าที่ตัดสินใจช้าจะต้องซื้อตั๋วในราคาที่สูงขึ้นกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมสิ่งใหม่ ๆ การเพิ่มรายได้จากส่วนอื่น ๆ นกแอร์เลือกใช้กระดาษและเครื่องพิมพ์ Boarding Pass ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่ากระดาษธรรมดา แต่ก็สามารถเพิ่มรายได้จากการขายโฆษณาด้านหลังของ Boarding Pass ได้กลยุทธ์ด้านพันมิตร การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า นกแอร์มุ่งให้บริการที่ดีเยี่ยมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้โดยสาร สร้างความประทับใจเพื่อลูกค้าจะได้กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551

วิเคราะห์ปัญหาการใช้ไอทีกับธุรกิจ

ธุรกิจซีดี-ดีวีดี
หนังทุกเรื่องมีลิขสิทธ์ด้วยกันทั้งสิ้น และมีการลงทุนที่สูงมากๆด้วยนักแสดงทุกคนทำงานก็ต้องหวังผลกำไรจากการทำงานทั้งนั้น ค่ายหนังยักษ์ใหญ่ก็ต้องหวังผลกำไรจากการขายหนังของตน แต่หนังแต่ละเรื่องนั้นก็มีราคาแพงทำไห้ประชากรในประเทศไม่ค่อยสนใจซื้อสินค้าที่ถูกลิขสิทธ์แต่กลับหันมาสนใจสินค้าที่มีพ่อค้าจำนวนมากนำมาไลท์วางขายแค่เพียงแผ่นละ 50 บาท หรือแม้ว่าในหนึ่งแผ่นมีหนังถึง4เรื่องก็มี เพราะมันมีราถูกกว่ามากและคุ้มค่า หนังในโรงภาพยนตร์ทุกเรื่องมีการนำกล้องเข้าไปแอบถ่ายด้วยกันทั้งนั้นเพียงแค่ช่วงข้ามคืนก็มีหนังใหม่วางกันอย่างเกลื่อนกลาดอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย การลงทุนก็ไม่สูงลงทุนแค่ไม่กี่บาทเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ทำได้ง่ายในปัจจุบันและพ่อค้าจำนวนมากนิยมทำกันทำให้ได้รับความเสียหายอย่างมากถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์อย่างหนักแล้วก็ตาม ทำให้ยอดขายในการขายสินค้าต่ำลง นักแสดงทุกคนขาดกำลังใจในการทำงาน และนี่ก็เป็นปัญหาที่เกิดจากการใช้ไอทีในทางที่ผิด

บทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ

องค์การและสิ่งแวดล้อม
องค์การตามความหมายทางเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่งคั่ง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ คำจำกัดความด้านเทคนิคนี้จะเน้นองค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วนคือ 1) ปัจจัยหลักด้านการผลิต ได้แก่ เงินทุนและแรงงาน 2) กระบวนการผลิต ซึ่งจะเปลี่ยนสิ่งนำเข้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ 3) ผลผลิต ได้แก่ สินค้าและบริการ
ผลกระทบของระบบสารสนเทศต่อองค์การ
ระบบสารสนเทศและองค์การต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยระบบสารสนเทศจะต้องนำเสนอข้อมูลข่าวสารตามกลุ่มบุคคลในองค์การที่ต้องการ ในขณะเดียวกันองค์การก็ต้องเปิดรับเอาระบบสารสนเทศเข้ามามีบทบาทที่สำคัญเพื่อรับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ระบบสารสนเทศเป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการ และสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์การ คือ
1. ลดระดับขั้นของการจัดการ ช่วยให้การตัดสินใจและการประสานงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลาย
3. ลดขั้นตอนการดำเนินงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและลดเวลาที่ต้องใช้
4. เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ ช่วยให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนปลงทางการบริหารจัดการ
5. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์การได้
องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสนับสนุนการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการเกิดขึ้นขององค์การแบบเครือข่าย ช่วยให้จัดการแพร่กระจายข่าวสารไปยังบุคคลภายในและภายนอกได้ทันที องค์การสามารถใช้สารสนเทศนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจภายในและภายนอกองค์การได้
องค์การเสมือนจริง
ลักษณะขององค์การเสมือนจริงมีดังนี้
1. มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2. ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3. มีความเป็นเลิศ
4.มีความไว้วางใจ
5. มีโอกาสทางตลาด
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
โดยทั่วไปจำแนกออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. ระดับผู้ปฏิบัติการ เป็นบุคลากรที่ดำเนินงานด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรฝ่ายต่างๆ
2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการดำเนินงานประจำวันของบุคลากรระดับปฏิบัติงานให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้บริหารระดับกลาง ผู้กำกับการบริหารงานของผู้บริหารระดับปฎิบัติการ
4. ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศสามารถจัดแบ่งประเภทได้ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ เช่น ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ระบบสารสนเทศโรงเรียน และระบบสารสนเทศโรงภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน เช่น ระบบการประเมินผล และระบบฐานข้อมูลพนักงาน เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน เช่น ระบบการประมวลผลธุรกรรม ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง ระบบสารสนเทศสำนักงาน และปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงานมีความต้องการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกันโดยทั่วไประบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์เป็น 6 ประเภท
1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม TPS เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมใช้ อย่างแพร่หลาย เพื่อประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ลักษณะการประมวลผลข้อมูลของTSP แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.) การประมวลผลแบบกลุ่ม เป็นการประมวลผลที่ข้อมุลจะถูกรวบรวมและสะสมไว้ว่างใจระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด แล้วจึงจะประมวลผมรวมกับเป็นครั้งเดียว
2.) การประมวลผลผลแบบทันที เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS เป็นระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและ สรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ได้จาก TSP เพื่อจัดการสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน สามารถ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด
2.รายงานสรุป
3.รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ
4.รายงานที่จัดทำตามความต้องการ
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ
4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง EIS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยให้สนับสนุน การวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์
5. ปัญญาประดิษฐ์ AL และระบบผู้เชี่ยวชาญ ES เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์ หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์6. ระบบสานสนเทศสำนักงาน OIS หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ OAS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร
กล่าวโดยสรุป ระบบสารสนเทศมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะสารสนเทศและระดับของผู้ใช้ ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์การผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะพิจารณาถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากสารสนเทศแต่ละระบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงาน

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550

กรณีศึกษา

1. ท่านคิดว่า RFID มีข้อได้เปรียบกว่าบาร์โค้ดอย่างไรบ้าง
- การนำเทคโนโลยี RFID ซึ่งก็คือการระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ในอุตสาหกรรมยา ทำให้ได้รับความสะดวกสบายทางด้านการตรวจสอบข้อมูลของยา มีชื่อบริษัทผู้ผลิตและวันผลิตยาเพื่อตรวจสอบได้ว่ายานั้นได้สั่งซื้อมาจากที่ใด และหมดอายุวันที่เท่าไร การใช้เทคโนโลยีRFID เพิ่มความสะดวกสบาย รวดเร็ว และทางด้านความปลอดภัย เทคโนโลยี RFID ยังสามารถตรวจจับยาปลอมได้ เพื่อไม่ให้ไปถึงมือผู้บริโภคเพราะจะเกิดอันตราย ส่วนบาร์โค้ดเป็นการอ่านข้อมูลที่บันทึกเพียงราคา รหัสสินค้า ชื่อสินค้าเท่านั้น แต่ไม่ได้อำนวยความสะดวกเทียบเท่ากับ RFID
2. จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี RFID ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่างๆ อย่างน้อย3ตัวอย่าง
- 1) บัตรรถไฟฟ้า สามารถอ่านข้อมูลของสถานีเริ่มต้นและสถานีปลายทางเพื่อเก็บค่าบริการได้ถูกต้อง

2)ระบบโรงแรม ใช้เทคโนโลยีนี้ทำกุญแจอัตโนมัติเวลาเข้าและออก ของลูกค้าที่มาใช้มาเข้าพัก หมายเลขห้องพักที่มาใช้บริการ

3) ร้านวีดีโอ- วีซีดี บันทึกชื่อ-รหัสของลูกค้า พร้อมรหัสของหนังที่ได้เช่าไป พร้อมอัตราค่าบริการและกำหนดระยะเวลาการยืม-คืน ลงในบัตรที่ลูกค้าเป็นสมาชิกของร้านนั้น
3. ท่านคิดว่าข้อจำกัดของการนำ RFID ไปใช้ในงานธุรกิจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
- การลงทุนในระบบ RFID ไม่ใช่เรื่องเล็กเหมือนซื้อเครื่องสแกนบาร์โค้ด แม้กระทั่ง Pilot Project เท่าที่ทราบมา ว่ากันว่าต้องมี 6 หลักจึงจะเกิดประโยชน์ เนื่องจากทั้ง Tag และ Reader ในปัจจุบันยังราคาสูงอยู่ แบบที่ดีๆหน่อยก็ราคาแพงเหลือเกิน แบบที่ถูกๆก็ข้อจำกัดเยอะ การติดตั้งระบบค่อนข้างมีราคาแพงอาจไม่คุ้มทุนนะถ้าหากว่าธุรกิจมีขนาดไม่ใหญ่ และ การดูแลระบบอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะต้องจ้างผู้ตรวจสอบระบบเพิ่มต่างหากทำให้เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับธุรกิจ